“ยูนิโคล่” ประเทศไทย ตั้งเป้าเป็น “หนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย”

ยูนิโคล่ ประเทศไทย แสดงวิสัยทัศน์ มุ่งสู่ “หนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย” สานต่อแผนปฏิบัติการความยั่งยืนของกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง ภายในปี 2030 ร่วมมือกับพันธมิตร SCGP และกลุ่ม ปตท. สร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านยั่งยืนในระดับประเทศ


นายโยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด,  นายฮิโรยูกิ มะซึโมะโตะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด  คุณประสงค์ อินทรหนองไผ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ คุณดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน))

ยูนิโคล่ ประเทศไทย สานต่อแผนปฏิบัติการสำหรับความยั่งยืนภายในปีงบประมาณ 2030 ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ผ่านแนวคิดไลฟ์แวร์ (LifeWear) ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ มุ่งสู่     “หนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย” เพื่อเป้าหมายการเป็นเสื้อผ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นจากมุมมองของผู้คน ชุมชน และโลก พร้อมกันนี้ ยูนิโคล่ ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ บริษัท รีแอค จำกัด (ReAcc) ภายใต้การดูแลของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านสังคมและโลกที่ยั่งยืน ให้เกิดผลลัพธ์ระยะยาวด้านความยั่งยืนแก่สังคมไทยและชาวไทยทุกคน

เป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืนในปีงบประมาณ 2030 ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ประกอบด้วยความคิดริเริ่มสำคัญ 2 ประการ คือ ผลิตเสื้อผ้าที่ดีสำหรับผู้คนและสังคม และ ผลิตเสื้อผ้าที่ดี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มร. โยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะหนึ่งในบริษัทเครื่องแต่งกายชั้นนำระดับโลก เราเห็นว่านี่เป็นหน้าที่ของเราที่จะตอบสนองความต้องการของสังคมในเชิงรุก และช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม บริษัท ยูนิโคล่ ประเทศไทย ได้ปรับตัวอย่างจริงจังเพื่อสร้างสังคมและโลกที่ดีขึ้น เราให้ความสำคัญในทุกด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ผู้คน และสังคม โดยเรามีความมุ่งมั่นอย่าง      แรงกล้าสำหรับอนาคต อันรวมไปถึงการเสริมสร้างแรงสนับสนุนจากสังคม การให้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ร่วมงาน ลูกค้า และผู้ผลิตที่มาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของเรา และยูนิโคล่มีความรับผิดชอบอย่างจริงจังในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก แม้ว่าโควิด-19 จะสร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก แต่เรายังคงดำเนินตามเป้าหมายด้านความยั่งยืน ตลอดจนร่วมมือกำหนดมาตรฐานสำหรับชาวไทย”

ด้วยเป้าหมายในการสร้างประเทศไทยที่ดีขึ้นร่วมกับชาวไทยในอนาคต ยูนิโคล่ ประเทศไทยยังคงดำเนินการตามขั้นตอนในการปกป้องและลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จัดการกับความท้าทายของสังคมโดยผ่านการสนับสนุนที่ยั่งยืนมากขึ้นในความคิดริเริ่มดังต่อไปนี้:

  • เพื่อผู้คนและสังคม –ยูนิโคล่ ประเทศไทย สนับสนุนความยั่งยืนเพื่อผู้คนและสังคม โดยได้ร่วมมือกับองค์กรหลายภาคส่วน อาทิ ร่วมกับสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต จัดทำหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำงานให้แก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญา เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน หรือ สนับสนุนงานด้านวิชาการ โดยความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันสร้างแผนงานธุรกิจที่มุ่งเน้นกิจกรรมด้านความยั่งยืนที่ภายใต้งาน CHULA EXPO 2022 หรือ งานจุฬาฯ วิชาการ’ 65
  • เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น – ยูนิโคล่มุ่งมั่นสานต่อกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์เรื่องการลดผลกระทบที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนได้นำมาปรับใช้ในทุกกระบวนการด้านธุรกิจของ   ยูนิโคล่ ตั้งแต่การวางแผนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงขั้นตอนการผลิต การขนส่ง การวางจำหน่าย และการจัดการ รวมไปถึงการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้า 100% ที่ร้านสาขาของ   ยูนิโคล่ผ่านการแลกใบรับรองพลังงานหมุนเวียน 100%* (I-REC) ภายใต้การทำงานร่วมกับบริษัท รีแอค จำกัด ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยยูนิโคล่ตั้งเป้าชดเชยการปล่อยคาร์บอน 100% จากไฟฟ้าที่ร้านสาขาและสำนักงานภายในปี 2566 นอกจากนี้ความยั่งยืนสู่ “ขยะเป็นศูนย์” (Zero Waste) ยูนิโคล่ ประเทศไทยได้ร่วมมือกับ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP นำกล่องกระดาษเหลือใช้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น เฟอร์นิเจอร์กระดาษ พร้อมส่งมอบให้        ค่ายผู้ลี้ภัยของ UNHCR ใช้ประโยชน์ต่อไป

คุณประสงค์ อินทรหนองไผ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า “การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อรองรับความต้องการใช้เชื้อเพลิงรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญในกลุ่มธุรกิจพลังงานอนาคตของ ปตท. ดังนั้นการให้บริการซื้อขายด้านพลังงานสะอาด และความเป็นกลางทางก๊าซเรือนกระจก ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มให้แก่บริษัทที่ต้องการจัดหาพลังงานหมุนเวียนของบริษัท รีแอค จำกัด (ReAcc) จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังรองรับการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต โดยมีบริการหลัก ได้แก่ การซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) การซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบ Power Purchase Agreement (PPA) และการใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ปตท. รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง ยูนิโคล่ ประเทศไทย เลือกซื้อใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนจาก ReAcc เพื่อใช้ทดแทนการใช้พลังงานสิ้นเปลืองในร้านยูนิโคล่ทุกสาขาในประเทศไทย นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจหันมาผลิตและใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และเพิ่มศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมพลังงานยั่งยืนของประเทศสู่เวทีโลกในอนาคตต่อไป

คุณดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า “SCGP มี ESG เป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผู้บริโภค ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคม บนพื้นฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ มีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 เราชื่นชมวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่สอดคล้องกัน จึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกวัสดุเหลือใช้ตั้งแต่ต้นทาง ภายใต้การดำเนินการของแบรนด์ SCGP Recycle จัดเก็บกล่องกระดาษเหลือใช้ นำมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์กระดาษที่แข็งแรงและสวยงาม ส่งมอบให้ค่ายผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี นำไปใช้ประโยชน์ใหม่ และอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นกระดาษพิมพ์เขียน เพื่อใช้งานในยูนิโคล่ 32 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สามารถจัดเก็บกล่องกระดาษเหลือใช้ได้แล้วกว่า 97 ตัน พร้อมขยายผลความร่วมมือไปยังยูนิโคล่สาขาอื่นๆ ทั่วประเทศ”

มร. โยชิทาเกะ วาคากุวะ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ยูนิโคล่ ยังคงมุ่งสร้างประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม ประเทศไทยเป็นประเทศที่เราก่อตั้งธุรกิจและใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของเราจะสร้างสรรค์ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงยังเป็นการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งที่อยู่อาศัยของป่าของเรา ลดปริมาณของเสีย พร้อมขยายกิจกรรมการสนับสนุนทางสังคมของเราอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าเราส่งมอบผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนไทย”

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *