PETA Innovation นำผลงานวิจัย “ไพลนาโนอีมัลชัน จากนักวิจัยคณะวิทย์จุฬาฯภัณฑ์ด้านสุขภาพความงาม ประเดิมปิดตัวสินค้า PETA Gold Serum

PETA Innovation นำผลงานวิจัย “ไพลนาโนอีมัลชัน จากนักวิจัยคณะวิทย์จุฬาฯ ต่อยอดเชิงพาณิชย์พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพความงามในระดับอุตสาหกรรมออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมเปิดตัว สินค้ากลุ่มแรก PETA Gold Serum การันตีด้วยรางวัลเหรียญทอง Gold Prize จากงานประกวดนวัตกรรมนานาชาติที่ประเทศเกาหลี SIIF 2022 และได้รับการสนับสนุนจาก RNN สวทช. และภาควิชาเคมีฯ หัวหน้าภาควิชาย้ำงานวิจัยยุคใหม่นอกจากเพื่อสร้างองค์ความรู้แล้ว ยังต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคม

นายปิติสุขค์ ดำมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีต้า อินโนเวชั่น จำกัด (PETA Innovation) กล่าวแนะนำ พีต้าอินโนเวชั่น ว่าก่อตั้งขึ้นมาเพื่อ ดำเนินธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การผลิตและทำตลาดสินค้านวัตกรรรม โดยมีที่ดำเนินการศึกษาวิจัยขึ้นเอง การจ้างหรือร่วมทุนทำวิจัยกับภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนการเข้าไปซื้อสิทธิ์หรือต่อยอดงานงานวิจัย จากนักวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยทั่วประเทศ

โดยเฉพาะการเข้าไปต่อยอดผลจากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ซึ่งจากการสำรวจของบริษัทพบว่า ในมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัย ในแต่ละปีมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และได้รับรางวัลระดับโลกมากมาย และยังพบว่ามีผลงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ แต่ยังไม่ถูกนำมาขยายผลในธุรกิจหรือนำมาใช้ประโยชน์และสร้างให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและทางการตลาดเท่าที่ควร ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อจำกัดในหลายๆประการ

นายยศพงศ์ เตชะพรสิน ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและการตลาด บริษัทพีต้าอินโนเวชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า จุดแข็งของบริษัทนอกจากจะมีการสร้างนวัตกรรมของตนเองแล้ว ยังเป็นบริษัทที่เกิดจากการรวมตัวกับของกลุ่มนักธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการตลาดและมีเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในภาคส่วนต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ที่มองเห็นเทรนด์การเติบโตของธุรกิจสินค้านวัตกรรมร่วมกัน

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่บริษัทนำออกสู่ตลาดชุดแรกภายใต้แบรนด์ PETA Innovation เป็นสินค้าที่พัฒนามาจากผลวิจัย “ไพลนาโนอีมัลชัน” ที่พัฒนาขึ้นโดย ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน อาจารย์และนักวิจัยจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“เรานำผลงานวิจัยดังกล่าว มาขยายผลต่อยอดและผลิตเป็นสินค้าในกลุ่ม สุขภาพ ความงาม และการชะลอวัยใน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ PETA Whitening Gold Serum ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิวหน้า  ผลิตภัณฑ์ Plaicoco มาร์กสูตรไพล ผสมโกโก้ ช่วยลดอาการอักเสบของผิว ต่อต้านริ้วรอยคงความชุ่มชื้นให้กับผิว และ ไพรโลเพน ซึ่งเป็นครีมสารสกัดไพลเข้มข้นนาโนอีมัลชั่น ที่ช่วย ช่วยบรรเทาอาการปวด อักเสบ ของกล้ามเนื้อ และ อาการนิ้วล็อค  ในอนาคตอันใกล้ บริษัทยังมีแผนที่จะนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับการสกัดและรักษาสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในพืชผลทางการเกษตรหรือสมุนไพรของไทยไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในรูปแบบต่างๆอีกหลายผลิตภัณฑ์ โดยสินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ PETA Innovation ทุกชิ้นจะต้องมีผลงานวิจัยเข้ามารอบรับ จึงขอให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างแท้จริง” นายยศพงศ์ กล่าว

ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เหมืองสิน อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงผลงานวิจัยที่ให้สิทธิ์กับ บริษัทพีต้าอินโนเวชั่น นำไปต่อยอดว่า มีทั้งผลงานวิจัยที่บริษัทสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทันที และยังช่วยพัฒนากระบวนการสกัดสารออกฤทธิ์จากวัตถุดิบ ขณะนี้บริษัทได้นำไปพัฒนาเป็นสินค้าที่พร้อมจำหน่ายคือ PETA Whitening Gold Serum ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก RNN สวทช. และภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และยังได้รับรางวัลเหรียญทอง Gold Prize จากงานประกวดนวัตกรรมนานาชาติที่ประเทศเกาหลี SIIF 2022

สำหรับคุณสมบัติพิเศษของ PETA Whitening Gold Serum คือจะช่วยลดปัญหาบนผิวหน้าที่ก่อให้เกิดฝ้า รอยด่างดำบนผิวหน้า โดยการเข้าไปยับยั้งการเกิดเม็ดสี ลดผิวหนังอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่กระตุ้นให้ผิวสร้างเม็ดสี ตลอดจนยับยั้งการออกซิเดชั่นซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเกิดริ้วรอย และรอยด่างดำ

“นอกจากนี้บริษัทพีต้าอินโนเวชั่น ยังได้นำผลงานวิจัย“ไพลนาโนอีมัลชัน” ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆอีก ซึ่งทางแลปวิจัยก็จะเข้าไปช่วยให้คำปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย” ศาสตราจารย์ ดร.นงนุชกล่าว

ศ. ดร. วรวีร์ โฮเว่น หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า ภาควิชาให้ความสำคัญต่อการทำวิจัยของคณาจารย์ในภาควิชาว่า นอกจากจะทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่แล้ว ต้องสามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ หรือสังคม งานวิจัยต้องสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพทางการแข่งขันของคนไทยได้ งานวิจัยจะต้องไม่อยู่บนหิ้งอีกต่อไป

                                                               ———————————–

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *