มหาวิทยาลัยเกริก จัดเสวนาปรัชญาขงจื้อโลก ครั้งที่10 พร้อมพิธีแสดงความเคารพต่อปรัชญาขงจื่อปรมาจารย์จริยธรรมโลก โดยมี ศาตราจารย์ ข๋ง เต๋อ ลี่ จากมหาวิทยาลัย Capital Normal University CNU ทายาทรุ่นที่ 77 ของ ข๋งจื่อ ปรามาจารย์จริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ในประวัติศาสตร์จีน เป็นผู้นำการเคารพ วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567 ณ ศูนย์หนีซานปรัชญาขงจื่อโลก สาขาประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพมหานคร
นายอมร มีมะโน ประธานคณะทำงานกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงานเสวนาปรัชญาขงจื้อโลก ครั้งที่10 กล่าวว่า “สำหรับการจัดงานครั้งนี้จะเห็นได้ถึงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม ระหว่าง ไทย- จีน ที่สำคัญเป็นการร่วมรำลึกและแสดงความเคารพต่อท่านขงจื่อ ผู้เป็นนักปราชญ์ของจีนที่น่าจะมีประวัติศาสตร์มาหลายพันปีละ แล้วคนจีนก็ให้ความนับถือแล้วก็โดยเฉพาะปรัชญาคำสอนของท่านขงจื่อ นับเป็นสิ่งทรงคุณค่าที่น่าศึกษามาก ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้จะเห็นว่าทั้งนักวิชาการและผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่มาร่วมงานต่างพูดแสดงความชื่นชมถึงปรัชญาของท่านขงจื่อ ซึ่งต่างเห็นพ้องกันว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก
สำหรับสิ่งที่เด่นชัดในงานวันนี้ก็คือ เรื่องการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน ที่มีนักวิชาการหลายท่านมาพูดถึงปรัชญาของขงจื่อซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมากเพราะว่าจีนเขาเผยแพร่วัฒนธรรมของของจีนแล้วก็มีเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างมากและเมื่อทางมหาวิทยาลัยเกริกได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งจากหลักสูตรที่ทำมาดีอยู่แล้วก็ยิ่งดีมากขึ้นอีก เพราะเชื่อว่า ปรัชญาของท่านขงจื่อ เป็นสิ่งที่คนไทยน่าจะส่วนใหญ่และคนทั่วโลกก็ต่างจะรู้จัก ชื่นชม และยอมรับ ยิ่งตอนนี้ได้ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยเกริกจะมีการแปลเป็นภาษาไทยด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นโอกาสดีสำหรับคนไทยในการเรียนรู้และสามารถที่จะได้นำไปปรับใช้ทั้งเรื่องการงานหรือว่าเรื่องของธุรกิจ ตลอดจนใช้เป็นแนวทางแบบแผนในการดำเนินชีวิตส่วนตัวได้เป็นอย่างดีต่อไป
ศาสตราจารย์ ข๋ง เต๋อ ลี่ จากมหาวิทยาลัย Capital Normal University CNU ทายาทรุ่นที่ 77 ของปรามาจารย์ขงจื่อ กล่าวว่า การจัดงานประชุมเสวนาหนีซานระดับโลกว่าด้วยอารยธรรมโลก ได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 ได้มาจัดที่ประเทศไทย ณ ศูนย์หนี่ซานปรัชญาขงจื่อโลก สาขาประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านทุกส่วนงานที่ให้การสนับสนุนการจัดงานได้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์ สมเกียรติโดยเริ่มพิธีช่วงเช้าที่ศักดิ์สิทธิ์โดยมีการสักการะบูชาปรมาจารย์ขงจื่อ ผู้เป็นปรัชญาเมธีของเรา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรัก ความซื่อสัตย์ ความที่ทุกคนยังคงระลึก ศัทธาและเคารพในตัวท่าน นอกจากในงานนี้แล้วยังมีการเสวนาและสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคัมภีร์หลักคำสอนของขงจื่อ ระหว่างไทย-จีน
ซึ่งในการแลกเปลี่ยนความรู้ในงานนี้จะทำให้เราเห็นได้ว่าขงจื่อไม่ใช่ผู้ได้รับการยอมรับให้เป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญเฉพาะของประเทศจีนหรือคนจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ยอมรับจากทุกๆคนที่ได้รู้จักหลักคำสอนของท่านบนโลกใบนี้ และต้องคิดต่อไปเราจะทำอย่างไรให้หลักคำสอนของท่านเผยแพร่ออกไปสู่นานาชาติ งานนี้จึงเป็นงานที่สำคัญมากในการที่เราจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จะได้เรียนรู้ถึงหลักคำสอนในการครองตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความยุติธรรมความซื่อสัตย์ คุณธรรมต่างๆทั้งหลาย จะถูกนำมาเผยแพร่ให้คนรุ่นต่อๆไปได้ศึกษาเรียนรู้และนำไปใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผมจึงรู้สึกชื่นชมการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเชื่อว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นในการที่เราจะร่วมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยจีนให้เติบโตก้าวหน้าต่อไปได้อย่างดี
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดประชุมอภิปรายอารยธรรมโลกหรือซานนับเป็นอีกหนึ่งงานที่สำคัญและถือเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระดับนานาชาติที่สำคัญซึ่งจะเชื่อมสัมพันความเข้าใจอันดีตลอดจนส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไทย-จีน ร่วมกันอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์ จะเห็นได้ว่าการจัดงานครั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจมาร่วมเป็นเกียรติทั้งนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกมุมโลกทำให้การประชุมอภิปรายในครั้งนี้มีความหลากหลายสมบูรณ์และเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ในเชิงลึก ที่สำคัญยังแสดงถึงรูปแบบอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกริกซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงเกียรติและมีคุณภาพมายาวนาน และหวังว่าการประชุมอภิปรายในครั้งนี้จะเป็นการสร้างมิตรภาพและเปิดเส้นทางแห่งความร่วมมือที่เป็นประโยชน์และต่อยอดพัฒนาทางวิชาการสืบไป”
——————–